วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การสังเกตลักษณะภายนอกของไก่

ลักษณะภายนอกของไก่หรือสัตว์ปีกบางชนิด บอกอะไรเราได้บ้าง ??? เลือกเฉพาะที่เด่นๆ และที่เป็นจุดสังเกตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนะคะ

👉 ลักษณะขน
• มีความมันเงา ไก่กินอาหารได้รับสารอาหารครบ หรืออาจจะออกแนวเกินๆด้วยซ้ำ เพราะสารอาหารถูกดูดซึมไปใช้บำรุงส่วนต่างๆ รวมถึงใช้ในการออกผลผลิตครบถ้วนแล้ว ส่วนที่เหลือมาบำรุงขนให้มันเงา 
*** แต่สำหรับในไก่แก่หรือไก่ปลดระวาง ขนไก่อาจจะมีหลุดร่วง ไปบ้างตามอายุนะคะ
• ช่วงไก่ผลัดขน จะมีขนร่วง แต่จะสร้างขนกลับมาได้ใหม่ ใช้เวลา อยู่ในช่วง 1 เดือนโดยประมาณ
.
👉 ลักษณะหงอน
• ขนาดของหงอน จะใหญ่ขึ้นตามช่วงอายุ และหากเป็นไก่ตัวผู้ จะมีลักษณะหงอนโตกว่าไก่เพศเมีย
• สีของหงอน 
➡️ถ้าสีแดงจัด บ่งบอกได้ว่าไก่อยู่ในช่วงให้ผลผลิตเยอะ มีสุขภาพดี ได้รับแสงเต็มที่
➡️แต่ถ้าหงอนมีสีซีด อาจบอกได้ว่า ไก่ขาดน้ำ หรือมีอาการป่วย
➡️ หงอนมีลักษณะมีรอยแผล เป็นก้อน แสดงว่าไก่ป่วยเป็นโรคฝีดาษ หรืออาจจะมีรอยจุดเล็กๆ อาจเกิดจากยุงกัด ซึ่งเป็นพาหะ นำโรคฝีดาษหรือมาลาเรียในไก่ได้
.
👉 บริเวณรอบใบหน้า
• มีลักษณะบวมที่แก้ม และรอบดวงตา อาจเกิดจากไก่เป็นโรคหวัดหน้าบวม
*** แต่ถ้าบวมบริเวณหัวไก่อย่างเดียว อาจเกิดจากในตอนที่ฉีดวัคซีนฉีดผิดตำแหน่งก็เป็นไปได้ค่ะ
.
👉 ก้นไก่
• เราสามารถวางนิ้วที่กระดูกเชิงกราน หากวางได้ครบ 3 นิ้ว แสดงว่าไก่อยู่ในช่วง เปลี่ยนช่วงอายุเป็นไก่สาว พร้อมที่จะออกผลผลิตแล้ว
.
• ลองเปิดก้นแล้วเจอว่ามีมูลไก่ติดก้น และมีลักษณะเหลว อาจสงสัยได้ว่า ไก่มีอาการป่วยที่ช่องทางเดินอาหาร หรือมีอาการท้องเสีย
.
👉 แข้งไก่
• มีลักษณะบวมบริเวณอุ้งเท้า อาจสงสัยได้ว่าไก่เป็นโรค ms 
*แต่ปัจจุบันไม่ค่อยพบเจอ เนื่องจากมีการทำวัคซีนตั้งแต่ตอนเป็นไก่เล็ก
• นิ้วเท้าของไก่กางออกไม่ได้ ขามีลักษณะคล้ายกับเป็นอัมพาต อาจสงสัยได้ว่าไก่อาจเป็นโรคมาเร็กซ์
 *แต่ปัจจุบันไม่ค่อยพบเจอ เนื่องจากมีการทำวัคซีนตั้งแต่โรงฟัก 
.
.
สังเกตการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะภายนอกของไก่หรือสัตว์ปีกคร่าวๆตามนี้ก่อนนะคะ
ข้อมูลเนื้อๆและเน้นๆ ✅
จากนายหญิง นักสัตวบาล เซียนไก่ไข่ แบ่งปันความรู้สัตว์ปีก
ฝากติดตามและช่วยแชร์ให้ชาวเราเกษตรกรได้รับรู้เพื่อเท่ากันด้วยนะคะ
#ปรึกษาได้
#ตอบช้าแต่ตอบชัวร์
ติดตามกันไปตราบนานเท่านานนะคะ 😊🤟🙏

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

วิธีทำให้ได้ผลผลิตไข่ฟองสวยยกแผง !!

🐣 อยากเก็บไข่สวยทุกวัน อยากเก็บแต่ไข่ดี เปลือกหนา สีสด ไม่มีไข่ขี้ติดเปลือก ผิวสวยเกลี้ยง ได้รูปทรงไข่
.
🐣 ใครๆก็อยากได้ไข่แบบนี้ เพราะมองแล้วมันชื่นอุรา เก็บง่าย แถมบ่งบอกถึงสุขภาพของแม่ไก่อีกด้วย
.
🐣 แล้วเราทำได้ไหม ? แบบนี้ ตอบคือ ทำได้สิค่ะ ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของเราอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนที่ตั้งใจ และใส่ใจกับการเลี้ยง และดูแลสัตว์จริงๆ
.
💡 วันนี้จะมาบอกเคล็ดลับการทำให้ไข่สวยตามใจปราถนา
1. ให้ไก่ได้กินอาหารครบตามความต้องการของสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์โรมัน บราวน์ ในระยะไข่ กินเฉลี่ย 120 กรัมต่อตัวต่อวัน แนะนำให้มีเครื่องชั่งวัดปริมาณการกินทุกวัน ไม่เอากะเอา ต้องเป๊ะหน่อยค่ะ
.
2. น้ำจะกินเป็น2 เท่าของอาหาร ข้อนี้สำคัญ เราต้องทราบปริมาณการกินด้วย เพราะน้ำบอกอะไรได้หลายอย่าง เช่น ถ้ากินน้ำไม่พอ เปลือกไข่จะออกมาสีซีดได้นะคะ แนะนำให้ติดมิเตอร์วัดระดับน้ำค่ะ และขอย้ำว่าน้ำที่ให้ไก่กินต้องเป็นน้ำสะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อโรคมาระดับหนึ่งด้วยนะคะ
.
3. สารอาหารที่สำคัญต้องครบ เช่นโปรตีน ในไก่ระยะให้ไข่ ต้องได้ 18% หรือไม่ต่ำกว่า 17% นะคะ เพราะถ้าต่ำกว่านี้ จะมีผลต่อฟองไข่ และปริมาณการให้ไข่ด้วยค่ะ สารอาหารอีกตัวที่สำคัญมากในไก่ระยะให้ไข่ คือ แคลเซียมค่ะ เพราะแม่ไก่จะใช้แคลเซียมเยอะมาก
.
4. สภาพแวดล้อมของการเลี้ยงในเล้าต้องสะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีแมลงวัน ไร หรือสัตว์พาหะต่างๆมารบกวน เช่น หนู แมงต่างๆ รวมถึงรอบๆบริเวณพื้นที่เลี้ยงด้วย สุนัขที่มีนิสัยชอบรังแกไก่ ก็ต้องระวังเลยนะคะ เพราะถ้าเข้ามาทำให้ไก่ตื่นตกใจ จะมีผลต่อสุขภาพไก่ และผลผลิตต่อไปได้ค่ะ
.
5. หมั่นพ่นยาฆ่าเชื้อรอบๆบริเวณเล้าไก่ เชื้อโรคเป็นสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่มีหลายล้านตัว หรือมีสิบตัว แต่เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นและประมาณการณ์ไม่ได้เลย แต่ทำไมไก่ถึงป่วยได้ เพราะแบบนี้เราถึงต้องมีการป้องกันอยู่เสมอ ลงทุนใช้ยาฆ่าเชื้อ แต่รับรองว่าช่วยป้องกันให้ไก่คุณป่วยน้อยลงแน่นอน
.
6. หาจุลินทรีย์หรือพวก Probiotic ให้ไก่กินเสริมช่วงเช้า เพราะจะทำให้ขี้ไก่เป็นก้อน ลดการใช้ยา ลดปัญหาขี้ไก่ติดเปลือก ทำให้เปลือกไข่ของเราสวยเกลี้ยง ไม่ต้องเสียเวลาเช็ด ขัดขี้อออกจากเปลือก และสุขภาพของตัวไก่จะดีด้วย ลดปัญหาการเกิดอาการท้องเสียในไก่ได้นะคะ
.
7. พยายามคอยดูอย่าให้อะไรมารบกวนไก่ ถ้าไก่ตื่นตกใจในระหว่างออกไข่ อาจทำให้เส้นเลือดฝอยในช่องท้องแตกได้ เป็นผลทำให้มีรอยแดงจุดเลือดติดมาบนเปลือก จะทำให้เรามองเห็นเปลือกไม่สวยได้นะคะ แนะนำหากใครเลี้ยงไก่ในที่ชุมชนอยู่ข้างๆ ก็เปิดเพลงให้ไก่ฟังไปซะเลยค่ะ ให้เขาชินกับเสียงไปเลย
.
8. คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงรายวัน ทั้งตัวไก่ สภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ หากเจอปัญหาจะได้แก้ไขได้ทันนะคะ
.
ถ้าไก่ไข่ได้ระยะพอสมควรแล้ว แนะนำให้พวกวิตามินที่มีส่วนช่วยเรื่องคุณภาพฟองไข่เสริมด้วยนะคะ เลือกแบบละลายน้ำเพราะไก่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ผลจะออกหลับการใช้ภายใน 1 สัปดาห์
.
.
พอแล้วดีกว่า บอกแค่นี้ก่อน เดี๋ยวจะอ่านกันเบื่อไป อิอิ
ไว้จะมาบอกเคล็ดลับดีๆให้ทราบกันต่อไปนะคะ
แค่ที่บอกไปนี้ ถ้าทำได้รับรองค่ะ ว่าเราจะเก็บไข่สวยๆได้ทุกวันแน่นอนค่ะ เชื่อสิ !!!
.
😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉😉
กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามได้นะคะ เพื่อเป็นกำลังใจให้นายหญิง นักสัตวบาลด้วยนะคะ
ติดตามบทความดีๆ จากนายหญิงได้ที่เฟสบุ้ค และเพจได้เลยนะคะ

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะคะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะคะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA…
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
.
แล้วนายหญิงจะส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ถึงพี่ๆน้องๆ เกษตรทุกท่านค่ะ ^^

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

5 เทคนิคเลี้ยงไก่ไข่ยังไงให้ไข่ดก by นายหญิง เซียนไก่ 092-3589942

5 เทคนิคเลี้ยงไก่ไข่ยังไงให้ไข่ดก by นายหญิง นักสัตวบาล เซียนไก่ไข่ แบ่งปันความรู้สัตว์ปีก
👇
1 เช็ค/เตรียมไก่สาวให้ชัวร์
ไก่สาวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง !!!!! นี่เรื่องจริงเลยนะคะ ถ้าเรามีการเตรียมหรือเช็คไก่สาวดีๆ ให้มีความพร้อมก่อนที่จะให้ผลผลิตไข่ จะทำให้เลี้ยงง่าย มีภูมิต้านทานโรคดี และช่วงที่ขึ้นพีคจะให้ผลผลิตดี
.
ไก่สาวไม่ว่าคุณจะเลี้ยงเองหรือซื้อมาจากฟาร์มอื่น ต้องมีการเตรียมการให้ดี
เลี้ยงเอง 👉 ทำวัคซีนพร้อมตามโปรแกรม
               👉 กกไก่ดี ไก่มีสุขภาพแข็งแรง
               👉 น้ำหนักได้ตามมาตรฐานอายุไก่
ซื้อมา 👉 เช็คประวัติการเลี้ยงจากแหล่งที่ซื้อ
.
2 เสริมวิตามินในบางคราวเท่าที่จำเป็น
ต้องมีการเสริมวิตามิน หรือแร่ธาตุ ให้ไก่ได้กินบ้าง เพราะในอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการที่จะสร้างผลผลิตไข่ของแม่ไก่ วิตามินจะมีสารต่างๆ กรดอะมิโนที่จำเป็น กรดอินทรีย์ เป็นต้น
.
เพื่อเสริมการกินได้ และสารที่จำเป็นไก่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทันที มีส่วนช่วยในการสร้างไข่ และเพื่อให้ฟองไข่สวยงาม
ให้เพียงสัปดาห์ละ 2-3 วัน ไม่จำเป็นต้องให้กินทุกวัน ในระหว่างวันเว้นให้ไก่ได้กินน้ำเปล่าด้วย
.
3 เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ไก่ที่ไม่ป่วย ไก่ที่มีสุขภาพดี ย่อมมีผลทำให้ให้ผลผลิตที่ดีได้ต่อเนื่อง ควรมีการเสริมสารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และไม่ให้ไก่เป็นโรคง่าย เช่นสมุนไพร วิตามิน C เป็นต้น
.
มีการพ่นยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันโรคที่จะเข้าสู่ตัวไก่

4 ทำให้ไก่อยู่สบายตัวที่สุด เกิดความเครียด
สิ่งแวดล้อมบริเวณเลี้ยงมีผลต่อการให้ผลผลิตไข่ ของแม่ไก่ เลี่ยงอยู่ใกล้แหล่งที่มีเสียงรบกวน ทำฟาร์มติดถนนมากเกินไป สัตว์เลี้ยง สุนัข แมว ที่อาจเข้าก่อกวนทำให้ไก่ตื่นตกใจ มีผลทำให้ผลผลิตไข่จะลดลงในวันถัดมาได้
.
5 คนเลี้ยงต้องมีสุขภาพที่ดี อารมณ์ดี และใส่ใจในการเลี้ยง
คนเลี้ยงจะต้องมีการใส่ใจ ไก่ต้องได้กินน้ำและอาหารทุกวัน สังเกตอากาศภายในเล้า มีการเปลี่ยนแปลงใดที่เกิดขึ้นกับตัวไก่ หากเจอสิ่งผิดปกติต้องรีบแก้ไขในทันที
.
🔥ประเด็นนี้ที่จะฝาก คนเลี้ยงจะต้องมีสุขภาพที่ดี เป็นคนยิ้มง่าย คุยกับไก่แต่สิ่งดีๆ
ข้อนี้จะเป็นหลักจิตวิทยาหน่อยค่ะ แต่เชื่อเถอะว่ามีผลแรงนะคะ
.
.
ฝากไว้เท่านี้ก่อนนะคะ ใครมีข้อสงสัยหรือข้อสอบถามเพิ่มเติมสอบถามมาได้ตลอดเลยนะคะ ยินดีให้คำปรึกษา คำแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรไทยที่สนใจในการทำเกษตร เลี้ยงไก่ไข่ ได้รู้เท่าทัน แนะนำไปประยุกต์ในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะคะ 😊
#ฝากแชร์ต่อด้วยค่ะ
#เกษตรไทยพัฒนาและยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คอร์สเรียนออนไลน์ เลี้ยงไก่ไข่อย่างเซียน สอนโดยผู้มีประสบการณ์จากการเลี้ยงไก่ไข่เชิงอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ

ยังเปิดรับสมัครอยู่นะคะ 😇
10 เรื่องที่เราจะเรียนกันค่ะ (อาจไม่ได้เรียงตามนี้นะคะ)
1. การเลือกสายพันธุ์ไก่ไข่ - การดูลักษณะไก่พร้อมให้ไข่ ลักษณะไก่ที่สมบูรณ์ ลักษณะของสายพันธุ์ จุดเด่น จุดด้อยของแต่ละสายพันธุ์ ข้อแก้ไขการจัดการของสายพันธุ์นั้นๆ
.
2. โรคที่พบบ่อยในไก่ไข่ พร้อมบอกวิธีรักษา วิธีป้องกัน (เป็นโรคที่เจอบ่อยในไก่ไข่) พร้อมยกตัวอย่างรอยโรคด้วยภาพ 
.
3. เชิญนักวิชาการมาสอนคำนวณยา โด๊สยาที่ควรใช้ ทั้งยาในรูปแบบละลายน้ำ และผสมอาหาร 
.
4. สอนวิธีการผ่าซากแบบละเอียด ดูรอยโรค จากซากไก่ปกติ และซากไก่ป่วย การใช้อุปกรณ์ผ่าซาก และการดูแลรักษา 
.
5. การจัดการเลี้ยงเบื้องต้น การเตรียมอุปกรณ์ อาหาร และน้ำ เช่น การให้อาหารในแบบเลี้ยงกรง/ปล่อยพื้น การทำน้ำให้สะอาด เทคนิคทำความสะอาดอุปกรณ์เลี้ยง การจดบันทึกรายวัน จำนวนตัวไก่ต่อพื้นที่เลี้ย 
.
6. การให้แสงที่เหมาะสมกับการกระตุ้นแสง การเลือกหลอดไฟ ความสว่างของไฟ บอกถึงผลของแสงที่มีผลต่อผลผลิตไข่ 
.
7. การทำวัคซีนในไก่สาว ระยะให้ไข่ ตั้งแต่การเตรียมอุปกรณ์ วัคซีนที่จำเป็น ละลายน้ำ/แบบฉีด การเลือกชนิดวัคซีน การส่งตรวจดูค่าเลือด การอ่านผลเลือด
.
8. คุณภาพฟองไข่ ลักษณะเปลือกบอกอะไรบ้าง ไข่แดง ไข่ขาว วิธีเช็คความสดของฟองไข่ การเก็บรักษา วิธีแก้ปัญหาฟองไข่ที่มีลักษณะผิดปกติ
.
9. การสังเกตลักษณะอาการไก่เบื้องต้น เสียงหวัด ลักษณะภายนอกตัวไก่ หงอน หน้า แข้ง ขน ปีก อาการทั่วไป 
.
10. การขอ GAP ทำมาตรฐานฟาร์ม ขั้นตอนเบื้องต้น วิธีเตรียมตัวปฏิบัติเพื่อขอรับรองขอทำมาตรฐาน
.
ในเนื้อหาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่คุณจะได้เทคนิคที่สอดแทร
.
พิเศษ สำหรับคอร์สเรียน รุ่น 1.5 
เราจะมีวิดีโอเสริม ไลฟ์สดตอบคำถาม พร้อมเกร็ดความรู้เพิ่มเติมให้อีก 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที รวม 150 นาที หรืออาจเกินกว่านั้น 
.
☜☆☞ ใครที่พลาดเรียนครั้งแรก สำหรับผู้ที่ยังไม่ลงทะเบียนเรียน คอร์สเรียนออนไลน์ 10 เรื่องเบื้องต้น การทำฟาร์มไก่ไข่ อย่างเซียน !
.
☜☆☞ วันนี้เปิดโอกาสให้ลงทะเบียนกันอีกครั้ง เป็นรุ่นที่ 1.5 
☜☆☞ พร้อมความรู้แบบอัดแน่นเต็มเหนี่ยว แบบที่ไม่เคยมีที่ไหนทำมาก่อน รับรองว่าคุณจะได้รับความรู้เต็มที่แน่นอน 
.
☜☆☞ มีผู้เรียน เห็นผลไปแล้วในรุ่นที่ 1 สามารถนำไปปรับใช้กับงานที่ทำ และช่วยในการตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้น
.
☜☆☞ พิเศษผู้ที่ตัดสินใจลงก่อนวันที่ 19 ต.ค. นี้ ราคาคอร์สละ 2,499 บาท
☜☆☞ หลังจากนั้นถึงวันที่ 31 ต.ค. ราคา 2,990 บาท

.
สอบถามมาที่ทุกช่องออนไลน์ได้เลยนะคะ 
https://web.facebook.com/allpoultrymanage/
หรือโทรสอบถามได้ที่ 092-3589942 นิ้ง กันย์ชิสา
- ทางคอมเม้นต์ หรือ ช่องแชทข้อความ 
- ทางเฟสบุ้ค หรือ ไลน์ 
ยินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ มาเป็นเซียน เลี้ยงไก่ไข่อย่างเทพ ด้วยกันค่ะ 😊
.
คุณจะได้เข้าร่วมกลุ่มกับเซียนรุ่นที่ 1 มาเป็นหนึ่งในครอบครัวเซียนไก่ไข่กันค่ะ ^^

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

3 Step กับสิ่งที่ควรรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงมือทำฟาร์ม


หลายคนที่กำลังคิดที่จะทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และยังไม่มีไอเดีย ว่าการทำฟาร์มง่ายหรือยากแค่ไหน
วันนี้เรานำบทความความรู้ดีๆ มาให้ท่านได้ลองทบทวนกันค่ะ
.
ขอแบ่งเป็น 3 Step กับสิ่งที่ควรรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงมือทำฟาร์มนะคะ
.
Step 1 :
เราต้องรู้จักสายพันธุ์ ของสัตว์ที่จะนำมาเลี้ยง รู้นิสัยเบื้องต้น สารอาหารที่ต้องการ การเป็นอยู่ และรู้ว่าสัตว์สายพันธุ์นั้นปรับปรุงมาเพื่ออะไร เช่น ในไก่เนื้อ, ไก่งวง ให้เนื้อเยอะ ให้ไข่ฟักออกได้เยอะ ให้น้ำหนักตัวดี หรือ ในไก่ไข่ให้ไข่ยืนพีคได้นานมากขึ้น เป็นต้น
.
รู้ไว้เบื้องต้น เพื่อให้เราจัดการเลี้ยงให้ถูกวิธีในลำดับขั้นต่อไป
.
Step 2 :
เราต้องรู้เกี่ยวกับการจัดการ วงจรการเลี้ยง (ขอเรียกว่า Cycle Life นะคะ) ว่าเลี้ยงกี่เดือน อายุเท่าไหร่ถึงออกไข่ อายุเท่าไหร่ถึงจะขายได้ ให้กินอาหารอะไร ช่วงไหน เช่น ในไก่เล็กให้กินหัวอาหาร ผสมกับรำละเอียด พอไก่โตขึ้น ก็เปลี่ยนเป็นอาหารช่วยลดต้นทุน โดยไม่กระทบต่อผลผลิต
.
เราต้องรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องโรคและการป้องกัน เช่น โรคในสัตว์ปีก ฝีดาษ, นิวคาสเซิล, หวัดหน้าบวม รู้ข้อมูลวิการเบื้องต้น การทำวัคซีน การให้ยารักษา และระยะหยุดยา เพื่อไม่ให้ยาตกค้างในเนื้อสัตว์ปีก เป็นต้น
.
Step 3 :
เราต้องหาตลาด ที่มั่นคง สามารถส่งขายออกจำหน่ายได้ตลอด ต้องศึกษาและมั่นใจเสียก่อนว่าผลผลิตของเราที่ทำออกมาจะออกขายได้ เราจะต้องไม่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อสภาพคล่องของตลาด เช่น เมื่อเกิดสภาวะล้นตลาด ราคาก็จะถูกลง และอาจจะไปกระทบกับค่าอาหารที่ไม่สมดุลได้ จนเกิดการขาดทุนตามมา
.
นี่ก็เป็น 3 Step เบื้องต้นสำหรับคนที่คิดจะทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์นะคะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสัตว์ทุกประเภท
.
.
ท้ายนี้ขอฝากเพิ่มเติม
การจะเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นธุรกิจ หลักการที่สำคัญคือต้องใส่ใจในรายละเอียดการเลี้ยงทุกขั้นตอน ทุกวัน ทุกนาที และคุณจะเลี้ยงสัตว์อย่างรู้เท่าทัน ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และมีความสุขกับการเลี้ยงสัตว์อย่างแน่นอนค่ะ
📌📌📌📌📌📌📌📌
.
ฝากบทความดีๆไว้ด้วยนะคะ

https://web.facebook.com/allpoultrymanage/
แชร์ได้ ไลค์ได้ เพื่อส่งต่อความรู้ และเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักสัตวบาลคนนี้ด้วยค่ะ ^^
- นายหญิง กันย์ชิสา -
หากใครมีปัญหาหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามมาได้ตลอดนะคะ 
See you the next time 😉

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วิธีสังเกต และวิธีปฏิบัติกับไก่สาวที่เพิ่งซื้อมา


มาค่ะ ความรู้แบบจัดเต็มมาส่งถึงที่อีกแล้วค่ะ ใครเคยซื้อไก่สาว หรือกำลังคิดที่จะซื้อ มาฟังข้อมูลนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นนะค่ะ
.
ปัจจุบันมีการลงขายไก่สาวเต็มหน้าเฟส ตามเพจ หรือตามกลุ่มต่างๆ ขายไก่สาวที่อายุ 16-18 สัปดาห์ ราคาปรับตามราคาประกาศในพื้นที่ๆนั้น ที่เป็นปัจจุบัน (ในปัจจุบันอยู่ที่ตัวละประมาณ 170-180 บาทต่อตัว) บางเจ้าก็จัดส่งฟรี บ้างเจ้าก็มีโปรโมชั่นต่างๆนานา
.
แต่เราในฐานะคนซื้อ ย่อมต้องรับรู้ข้อมูลไว้บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการบาดเจ็บ ให้กับตัวเอง สำหรับไก่สาวโดยทั่วไป สิ่งที่เราจะสังเกตและสามารถตามได้จากสิ่งดังต่อไปนี้ค่ะ
.

หากใครที่สั่งซื้อในปริมาณเยอะๆ หมอนิ้งแนะนำให้เรามีการจองไก่ จองเล้าก่อนที่จะเป็นไก่สาวนะค่ะ หรือจองตั้งแต่การเริ่มเลี้ยงลูกไก่เลยค่ะ เพราะจะทำให้เรารู้ที่มา และรู้ข้อมูลเป็นระยะค่ะ
.
ลงทุนทั้งที ต้องทำให้คุ้มค่านะค่ะ บทเรียนราคาจะถูกหรือแพง อยู่ที่เกราะของเราเองด้วยนะค่ะ ว่าจะป้องกันดีแค่ไหน ?
.

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ สิ่งที่เราต้องหาข้อมูลมากจากไก่สาวที่เราซื้อมานั้น และวิธีปฏิบัติเมื่อไก่สาวมาถึง ขอรวมไปด้วยดังนี้ค่ะ
1. เราต้องทราบที่มาของเล้าเลี้ยง พื้นที่ และเลี้ยงแบบไหน ปล่อยพื้น หรือบนกรง เพื่อที่ทราบข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของตัวไก่
.
2. ถามโปรแกรมวัคซีนจากคนขายค่ะ ว่าไก่ชุดที่เราซื้อนั้น ผ่านการทำวัคซีนอะไรมาแล้วบ้าง เพื่อที่เราจะได้วางโปรแกรมการทำวัคซีนในรอบต่อๆไปได้ค่ะ
.
3. ดูน้ำหนักเฉลี่ยของตัวไก่ หากเขามีการเก็บข้อมูลเป็นสัปดาห์ ขอเขาดูเลยค่ะ และเราลองนำมาสุ่มชั่งเองด้วยอีกครั้ง ในวันที่ไก่มาถึง แนะนำให้ชั่งทีละ 10 ตัว แล้วหารเฉลี่ยค่ะ แต่ถ้าไก่มีจำนวนเยอะ สุุ่มก็ได้นะค่ะ
.
4. เราควรแยกเลี้ยงไก่ตัวเล็ก กับไก่ตัวใหญ่ออกจากกันค่ะ ไก่ตัวเล็กในที่นี้คือ กลุ่มที่น้ำหนักต่างจากฝูง ถ้าอายุ 16 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยควรอยู่ที่ 1.40 ก.ก. แต่น้ำหนักไก่ได้เพียง 1.1-1.2 ก.ก. เท่านั้น ถ้าเรานำมารวมฝูงก็จะทำให้โตไม่ทันเพื่อนค่ะ (ถ้าเจอน้ำหนักน้อยเยอะ เคลมคืนเจ้าของเลยนะค่ะ แปลว่าเขาเลี้ยงไม่ได้น้ำหนัก หรืออาจอายุยังไม่ถึงค่ะ)
.
5. ไก่สาวมาถึงฟาร์ม หรือโรงเรือนเลี้ยงเราใหม่ๆแนะนำให้หายากลุ่มพวกอิเล็กโตรไลต์เตรียมไว้ให้เขากินด้วยค่ะ เพื่อลดความเครียดจากการเคลื่อนย้ายค่ะ
.
6. สังเกตหน้าตาไก่โดยรวมค่ะ หงอนยังไม่แดงจัดไม่แปลก เพราะอายุยังไม่ถึง หน้าไม่แดงจัด ไม่แปลก แต่ถ้าผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วยังไม่แดงจัด แปลกแล้วนะค่ะ ไก่อายุ 18 สัปดาห์คือช่วงอายุที่พร้อมให้ไข่ ออกผลผลิตให้กับเราแล้ว ดังนั้น ต้องแดงจัดแล้วค่ะ
.
7. สังเกตทั่วๆไปรอบตัวไก่ค่ะ มีแผลที่หน้า ที่หงอนหรือไม่ ขนฟูหยองหรือไม่ หน้าบวมหรือไม่ เท้าเจ็บหรือไม่ ขนหลุดเยอะหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ คือ สัญญาณอันตราย แปลว่าไก่สุขภาพไม่ดีค่ะ
.
.
ประมาณนี้ก่อนนะค่ะ ข้อสังเกต และข้อปฏิบัติสำหรับคนที่ซื้อไก่สาวมาเลี้ยงค่ะ บทความนี้สามารถประยุกต์ใช้กับสัตว์ปีกทั่วไปนะค่ะ ต่างกันที่อายุเท่านั้นค่ะ
.
ไว้หมอนิ้งจะมาเล่าประสบการณ์และบอกความรู้ดีๆ มีประโยชน์ให้กับพี่ๆน้องๆ เกษตรอีกในครั้งถัดไปนะค่ะ
.
ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามได้นะค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้หมอนิ้งค่ะ
ติดตามหมอนิ้งแบบใกล้ชิด ทุกโพสต์ความรู้ได้ที่เพจ และเฟสบุ้คของหมอนิ้งเอง
https://www.facebook.com/naiying48
https://www.facebook.com/allpoultryma...

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะค่ะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะค่ะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะค่ะ)