วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วิธีสังเกต และวิธีปฏิบัติกับไก่สาวที่เพิ่งซื้อมา


มาค่ะ ความรู้แบบจัดเต็มมาส่งถึงที่อีกแล้วค่ะ ใครเคยซื้อไก่สาว หรือกำลังคิดที่จะซื้อ มาฟังข้อมูลนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นนะค่ะ
.
ปัจจุบันมีการลงขายไก่สาวเต็มหน้าเฟส ตามเพจ หรือตามกลุ่มต่างๆ ขายไก่สาวที่อายุ 16-18 สัปดาห์ ราคาปรับตามราคาประกาศในพื้นที่ๆนั้น ที่เป็นปัจจุบัน (ในปัจจุบันอยู่ที่ตัวละประมาณ 170-180 บาทต่อตัว) บางเจ้าก็จัดส่งฟรี บ้างเจ้าก็มีโปรโมชั่นต่างๆนานา
.
แต่เราในฐานะคนซื้อ ย่อมต้องรับรู้ข้อมูลไว้บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการบาดเจ็บ ให้กับตัวเอง สำหรับไก่สาวโดยทั่วไป สิ่งที่เราจะสังเกตและสามารถตามได้จากสิ่งดังต่อไปนี้ค่ะ
.

หากใครที่สั่งซื้อในปริมาณเยอะๆ หมอนิ้งแนะนำให้เรามีการจองไก่ จองเล้าก่อนที่จะเป็นไก่สาวนะค่ะ หรือจองตั้งแต่การเริ่มเลี้ยงลูกไก่เลยค่ะ เพราะจะทำให้เรารู้ที่มา และรู้ข้อมูลเป็นระยะค่ะ
.
ลงทุนทั้งที ต้องทำให้คุ้มค่านะค่ะ บทเรียนราคาจะถูกหรือแพง อยู่ที่เกราะของเราเองด้วยนะค่ะ ว่าจะป้องกันดีแค่ไหน ?
.

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ สิ่งที่เราต้องหาข้อมูลมากจากไก่สาวที่เราซื้อมานั้น และวิธีปฏิบัติเมื่อไก่สาวมาถึง ขอรวมไปด้วยดังนี้ค่ะ
1. เราต้องทราบที่มาของเล้าเลี้ยง พื้นที่ และเลี้ยงแบบไหน ปล่อยพื้น หรือบนกรง เพื่อที่ทราบข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของตัวไก่
.
2. ถามโปรแกรมวัคซีนจากคนขายค่ะ ว่าไก่ชุดที่เราซื้อนั้น ผ่านการทำวัคซีนอะไรมาแล้วบ้าง เพื่อที่เราจะได้วางโปรแกรมการทำวัคซีนในรอบต่อๆไปได้ค่ะ
.
3. ดูน้ำหนักเฉลี่ยของตัวไก่ หากเขามีการเก็บข้อมูลเป็นสัปดาห์ ขอเขาดูเลยค่ะ และเราลองนำมาสุ่มชั่งเองด้วยอีกครั้ง ในวันที่ไก่มาถึง แนะนำให้ชั่งทีละ 10 ตัว แล้วหารเฉลี่ยค่ะ แต่ถ้าไก่มีจำนวนเยอะ สุุ่มก็ได้นะค่ะ
.
4. เราควรแยกเลี้ยงไก่ตัวเล็ก กับไก่ตัวใหญ่ออกจากกันค่ะ ไก่ตัวเล็กในที่นี้คือ กลุ่มที่น้ำหนักต่างจากฝูง ถ้าอายุ 16 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยควรอยู่ที่ 1.40 ก.ก. แต่น้ำหนักไก่ได้เพียง 1.1-1.2 ก.ก. เท่านั้น ถ้าเรานำมารวมฝูงก็จะทำให้โตไม่ทันเพื่อนค่ะ (ถ้าเจอน้ำหนักน้อยเยอะ เคลมคืนเจ้าของเลยนะค่ะ แปลว่าเขาเลี้ยงไม่ได้น้ำหนัก หรืออาจอายุยังไม่ถึงค่ะ)
.
5. ไก่สาวมาถึงฟาร์ม หรือโรงเรือนเลี้ยงเราใหม่ๆแนะนำให้หายากลุ่มพวกอิเล็กโตรไลต์เตรียมไว้ให้เขากินด้วยค่ะ เพื่อลดความเครียดจากการเคลื่อนย้ายค่ะ
.
6. สังเกตหน้าตาไก่โดยรวมค่ะ หงอนยังไม่แดงจัดไม่แปลก เพราะอายุยังไม่ถึง หน้าไม่แดงจัด ไม่แปลก แต่ถ้าผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วยังไม่แดงจัด แปลกแล้วนะค่ะ ไก่อายุ 18 สัปดาห์คือช่วงอายุที่พร้อมให้ไข่ ออกผลผลิตให้กับเราแล้ว ดังนั้น ต้องแดงจัดแล้วค่ะ
.
7. สังเกตทั่วๆไปรอบตัวไก่ค่ะ มีแผลที่หน้า ที่หงอนหรือไม่ ขนฟูหยองหรือไม่ หน้าบวมหรือไม่ เท้าเจ็บหรือไม่ ขนหลุดเยอะหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ คือ สัญญาณอันตราย แปลว่าไก่สุขภาพไม่ดีค่ะ
.
.
ประมาณนี้ก่อนนะค่ะ ข้อสังเกต และข้อปฏิบัติสำหรับคนที่ซื้อไก่สาวมาเลี้ยงค่ะ บทความนี้สามารถประยุกต์ใช้กับสัตว์ปีกทั่วไปนะค่ะ ต่างกันที่อายุเท่านั้นค่ะ
.
ไว้หมอนิ้งจะมาเล่าประสบการณ์และบอกความรู้ดีๆ มีประโยชน์ให้กับพี่ๆน้องๆ เกษตรอีกในครั้งถัดไปนะค่ะ
.
ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามได้นะค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้หมอนิ้งค่ะ
ติดตามหมอนิ้งแบบใกล้ชิด ทุกโพสต์ความรู้ได้ที่เพจ และเฟสบุ้คของหมอนิ้งเอง
https://www.facebook.com/naiying48
https://www.facebook.com/allpoultryma...

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะค่ะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะค่ะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะค่ะ)

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วัสดุปูรอง สำหรับเล้าเลี้ยงไก่ แบบปล่อยพื้น by หมอนิ้ง เซียนไก่ไข่ แบ่งปันความรู้สัตว์ปีก


วัสดุปูรอง สำหรับเล้าไก่ เป็นสิ่งสำคัญที่อยู่ภายในเล้าไก่ เพราะเป็นพื้นที่ให้ไก่เหยียบ นอน ขี้ และไก่ใช้ชีวิตส่วนหนึ่งยืน และนอนอยู่บนวัสดุปูรองนั้น
.
เพราะฉะนั้น เราจำเป็นที่จะต้องใส่ใจ และเลือกวัสดุปูรอง ให้ดีและเหมาะสมกับเล้าไก่ที่สุด
.
เลือกวัสดุปูรองอย่างไร ให้เหมาะกับการเลี้ยงไก่
1. ดูดซับความชื้นได้ดี
ลักษณะของพื้นโรงเรือนที่เหมาะแก่การเลี้ยงไก่คือ ต้องแห้ง และดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆได้ดี
>>
2. ขนาดของวัสดุปูรองที่เหมาะสม และน้ำหนักเบา นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ไก่ยังได้แสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติ คือ การซุกไซ้ไปยังสิ่งปูรอง เพื่อทำความสะอาดร่างกาย และลดความเครียดได้อีกด้วย
>>
3. การเลือกวัสดุที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และทำให้ต้นทุนในการจัดหาถูกลงด้วย
>>
4. ปลอดภัย ไม่เป็นเชื้อรา
วัสดุบางประเภทมีความไวในการเกิดเชื้อราได้ง่าย เช่น ฟางข้าว ขี้เลื่อย ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา
>>
5. เป็นที่ต้องการของผู้รับซื้อต่อ
เมื่อสิ้นสุดรอบการเลี้ยง สิ่งที่ทุกฟาร์มต้องทำคือ การนำวัสดุปูรองเดิมออกจากพื้นโรงเรือนเพื่อเตรียมทำความสะอาด ดังนั้นต้องเลือกวัสดุปูรองที่จำหน่ายได้ง่าย เพื่อประหยัดเวลา และง่ายต่อการจัดการ
.

อย่างที่ได้บอกไปนะค่ะ ว่าวัสดุปูรองนั้นสำคัญ บางคนอาจใช้เป็นแกลบ , ฟางข้าว หรืออาจเป็นพื้นยกสูง แล้วให้ไก่ขี้ลงข้างล่าง

>> ทำไมถึงต้องเลือกวัสดุที่ดูดซับความชื้นได้ดี เพราะความชื้นนี่ละค่ะ ที่เป็นปัญหาใหญ่ ในการเลี้ยงไก่ ความชื้นมีส่วนทำให้ไก่ป่วยได้ง่าย และโรคมักจะมาพร้อมกับความชื้นนี้เอง เหมือนเวลาเราไม่สบาย คุณหมอจะแนะนำว่า ให้เอาผ้าปูที่นอน ปอกหมอน พัดลม ออกมาทำความสะอาด เพื่อกำจัดฝุ่น และไล่ความชื้นออกจากที่นอนเรานั่นเอง เช่นเดียวกันกับเล้าไก่ หากมีความชื้นสูง ไก่ย่อมได้รับเชื้อโรคได้ง่ายค่ะ

>> อีกส่วนที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงต้องคิดก่อนเลือกมาใช้ คือ ต้องเลือกวัสดุปูรอง และคอยเปลี่ยนให้ไม่เกิดปัญหาเชื้อรา เพราะเชื้อราทำให้ไก่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และกดภูมิคุ้มกัน ดังนั้นควรเลือกวัสดุปูรองจากแหล่งที่เชื่อถือได้ สดใหม่ และไม่เป็นเชื้อรา
.

กดไลค กดแชร์ กดติดตามได้นะค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้หมอนิ้งค่ะ
ติดตามหมอนิ้งแบบใกล้ชิด ทุกโพสต์ความรู้ได้ที่เพจ และเฟสบุ้คของหมอนิ้งเอง
https://www.facebook.com/naiying48
https://www.facebook.com/allpoultryma...

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะค่ะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะค่ะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะค่ะ)
.
แล้วหมอนิ้งจะส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ถึงพี่ๆน้องๆ เกษตรทุกท่านค่ะ ^^