วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คอร์สเรียนออนไลน์ เลี้ยงไก่ไข่อย่างเซียน สอนโดยผู้มีประสบการณ์จากการเลี้ยงไก่ไข่เชิงอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ

ยังเปิดรับสมัครอยู่นะคะ 😇
10 เรื่องที่เราจะเรียนกันค่ะ (อาจไม่ได้เรียงตามนี้นะคะ)
1. การเลือกสายพันธุ์ไก่ไข่ - การดูลักษณะไก่พร้อมให้ไข่ ลักษณะไก่ที่สมบูรณ์ ลักษณะของสายพันธุ์ จุดเด่น จุดด้อยของแต่ละสายพันธุ์ ข้อแก้ไขการจัดการของสายพันธุ์นั้นๆ
.
2. โรคที่พบบ่อยในไก่ไข่ พร้อมบอกวิธีรักษา วิธีป้องกัน (เป็นโรคที่เจอบ่อยในไก่ไข่) พร้อมยกตัวอย่างรอยโรคด้วยภาพ 
.
3. เชิญนักวิชาการมาสอนคำนวณยา โด๊สยาที่ควรใช้ ทั้งยาในรูปแบบละลายน้ำ และผสมอาหาร 
.
4. สอนวิธีการผ่าซากแบบละเอียด ดูรอยโรค จากซากไก่ปกติ และซากไก่ป่วย การใช้อุปกรณ์ผ่าซาก และการดูแลรักษา 
.
5. การจัดการเลี้ยงเบื้องต้น การเตรียมอุปกรณ์ อาหาร และน้ำ เช่น การให้อาหารในแบบเลี้ยงกรง/ปล่อยพื้น การทำน้ำให้สะอาด เทคนิคทำความสะอาดอุปกรณ์เลี้ยง การจดบันทึกรายวัน จำนวนตัวไก่ต่อพื้นที่เลี้ย 
.
6. การให้แสงที่เหมาะสมกับการกระตุ้นแสง การเลือกหลอดไฟ ความสว่างของไฟ บอกถึงผลของแสงที่มีผลต่อผลผลิตไข่ 
.
7. การทำวัคซีนในไก่สาว ระยะให้ไข่ ตั้งแต่การเตรียมอุปกรณ์ วัคซีนที่จำเป็น ละลายน้ำ/แบบฉีด การเลือกชนิดวัคซีน การส่งตรวจดูค่าเลือด การอ่านผลเลือด
.
8. คุณภาพฟองไข่ ลักษณะเปลือกบอกอะไรบ้าง ไข่แดง ไข่ขาว วิธีเช็คความสดของฟองไข่ การเก็บรักษา วิธีแก้ปัญหาฟองไข่ที่มีลักษณะผิดปกติ
.
9. การสังเกตลักษณะอาการไก่เบื้องต้น เสียงหวัด ลักษณะภายนอกตัวไก่ หงอน หน้า แข้ง ขน ปีก อาการทั่วไป 
.
10. การขอ GAP ทำมาตรฐานฟาร์ม ขั้นตอนเบื้องต้น วิธีเตรียมตัวปฏิบัติเพื่อขอรับรองขอทำมาตรฐาน
.
ในเนื้อหาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่คุณจะได้เทคนิคที่สอดแทร
.
พิเศษ สำหรับคอร์สเรียน รุ่น 1.5 
เราจะมีวิดีโอเสริม ไลฟ์สดตอบคำถาม พร้อมเกร็ดความรู้เพิ่มเติมให้อีก 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที รวม 150 นาที หรืออาจเกินกว่านั้น 
.
☜☆☞ ใครที่พลาดเรียนครั้งแรก สำหรับผู้ที่ยังไม่ลงทะเบียนเรียน คอร์สเรียนออนไลน์ 10 เรื่องเบื้องต้น การทำฟาร์มไก่ไข่ อย่างเซียน !
.
☜☆☞ วันนี้เปิดโอกาสให้ลงทะเบียนกันอีกครั้ง เป็นรุ่นที่ 1.5 
☜☆☞ พร้อมความรู้แบบอัดแน่นเต็มเหนี่ยว แบบที่ไม่เคยมีที่ไหนทำมาก่อน รับรองว่าคุณจะได้รับความรู้เต็มที่แน่นอน 
.
☜☆☞ มีผู้เรียน เห็นผลไปแล้วในรุ่นที่ 1 สามารถนำไปปรับใช้กับงานที่ทำ และช่วยในการตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้น
.
☜☆☞ พิเศษผู้ที่ตัดสินใจลงก่อนวันที่ 19 ต.ค. นี้ ราคาคอร์สละ 2,499 บาท
☜☆☞ หลังจากนั้นถึงวันที่ 31 ต.ค. ราคา 2,990 บาท

.
สอบถามมาที่ทุกช่องออนไลน์ได้เลยนะคะ 
https://web.facebook.com/allpoultrymanage/
หรือโทรสอบถามได้ที่ 092-3589942 นิ้ง กันย์ชิสา
- ทางคอมเม้นต์ หรือ ช่องแชทข้อความ 
- ทางเฟสบุ้ค หรือ ไลน์ 
ยินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ มาเป็นเซียน เลี้ยงไก่ไข่อย่างเทพ ด้วยกันค่ะ 😊
.
คุณจะได้เข้าร่วมกลุ่มกับเซียนรุ่นที่ 1 มาเป็นหนึ่งในครอบครัวเซียนไก่ไข่กันค่ะ ^^

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

3 Step กับสิ่งที่ควรรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงมือทำฟาร์ม


หลายคนที่กำลังคิดที่จะทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และยังไม่มีไอเดีย ว่าการทำฟาร์มง่ายหรือยากแค่ไหน
วันนี้เรานำบทความความรู้ดีๆ มาให้ท่านได้ลองทบทวนกันค่ะ
.
ขอแบ่งเป็น 3 Step กับสิ่งที่ควรรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงมือทำฟาร์มนะคะ
.
Step 1 :
เราต้องรู้จักสายพันธุ์ ของสัตว์ที่จะนำมาเลี้ยง รู้นิสัยเบื้องต้น สารอาหารที่ต้องการ การเป็นอยู่ และรู้ว่าสัตว์สายพันธุ์นั้นปรับปรุงมาเพื่ออะไร เช่น ในไก่เนื้อ, ไก่งวง ให้เนื้อเยอะ ให้ไข่ฟักออกได้เยอะ ให้น้ำหนักตัวดี หรือ ในไก่ไข่ให้ไข่ยืนพีคได้นานมากขึ้น เป็นต้น
.
รู้ไว้เบื้องต้น เพื่อให้เราจัดการเลี้ยงให้ถูกวิธีในลำดับขั้นต่อไป
.
Step 2 :
เราต้องรู้เกี่ยวกับการจัดการ วงจรการเลี้ยง (ขอเรียกว่า Cycle Life นะคะ) ว่าเลี้ยงกี่เดือน อายุเท่าไหร่ถึงออกไข่ อายุเท่าไหร่ถึงจะขายได้ ให้กินอาหารอะไร ช่วงไหน เช่น ในไก่เล็กให้กินหัวอาหาร ผสมกับรำละเอียด พอไก่โตขึ้น ก็เปลี่ยนเป็นอาหารช่วยลดต้นทุน โดยไม่กระทบต่อผลผลิต
.
เราต้องรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องโรคและการป้องกัน เช่น โรคในสัตว์ปีก ฝีดาษ, นิวคาสเซิล, หวัดหน้าบวม รู้ข้อมูลวิการเบื้องต้น การทำวัคซีน การให้ยารักษา และระยะหยุดยา เพื่อไม่ให้ยาตกค้างในเนื้อสัตว์ปีก เป็นต้น
.
Step 3 :
เราต้องหาตลาด ที่มั่นคง สามารถส่งขายออกจำหน่ายได้ตลอด ต้องศึกษาและมั่นใจเสียก่อนว่าผลผลิตของเราที่ทำออกมาจะออกขายได้ เราจะต้องไม่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อสภาพคล่องของตลาด เช่น เมื่อเกิดสภาวะล้นตลาด ราคาก็จะถูกลง และอาจจะไปกระทบกับค่าอาหารที่ไม่สมดุลได้ จนเกิดการขาดทุนตามมา
.
นี่ก็เป็น 3 Step เบื้องต้นสำหรับคนที่คิดจะทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์นะคะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสัตว์ทุกประเภท
.
.
ท้ายนี้ขอฝากเพิ่มเติม
การจะเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นธุรกิจ หลักการที่สำคัญคือต้องใส่ใจในรายละเอียดการเลี้ยงทุกขั้นตอน ทุกวัน ทุกนาที และคุณจะเลี้ยงสัตว์อย่างรู้เท่าทัน ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และมีความสุขกับการเลี้ยงสัตว์อย่างแน่นอนค่ะ
📌📌📌📌📌📌📌📌
.
ฝากบทความดีๆไว้ด้วยนะคะ

https://web.facebook.com/allpoultrymanage/
แชร์ได้ ไลค์ได้ เพื่อส่งต่อความรู้ และเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักสัตวบาลคนนี้ด้วยค่ะ ^^
- นายหญิง กันย์ชิสา -
หากใครมีปัญหาหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามมาได้ตลอดนะคะ 
See you the next time 😉

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วิธีสังเกต และวิธีปฏิบัติกับไก่สาวที่เพิ่งซื้อมา


มาค่ะ ความรู้แบบจัดเต็มมาส่งถึงที่อีกแล้วค่ะ ใครเคยซื้อไก่สาว หรือกำลังคิดที่จะซื้อ มาฟังข้อมูลนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นนะค่ะ
.
ปัจจุบันมีการลงขายไก่สาวเต็มหน้าเฟส ตามเพจ หรือตามกลุ่มต่างๆ ขายไก่สาวที่อายุ 16-18 สัปดาห์ ราคาปรับตามราคาประกาศในพื้นที่ๆนั้น ที่เป็นปัจจุบัน (ในปัจจุบันอยู่ที่ตัวละประมาณ 170-180 บาทต่อตัว) บางเจ้าก็จัดส่งฟรี บ้างเจ้าก็มีโปรโมชั่นต่างๆนานา
.
แต่เราในฐานะคนซื้อ ย่อมต้องรับรู้ข้อมูลไว้บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการบาดเจ็บ ให้กับตัวเอง สำหรับไก่สาวโดยทั่วไป สิ่งที่เราจะสังเกตและสามารถตามได้จากสิ่งดังต่อไปนี้ค่ะ
.

หากใครที่สั่งซื้อในปริมาณเยอะๆ หมอนิ้งแนะนำให้เรามีการจองไก่ จองเล้าก่อนที่จะเป็นไก่สาวนะค่ะ หรือจองตั้งแต่การเริ่มเลี้ยงลูกไก่เลยค่ะ เพราะจะทำให้เรารู้ที่มา และรู้ข้อมูลเป็นระยะค่ะ
.
ลงทุนทั้งที ต้องทำให้คุ้มค่านะค่ะ บทเรียนราคาจะถูกหรือแพง อยู่ที่เกราะของเราเองด้วยนะค่ะ ว่าจะป้องกันดีแค่ไหน ?
.

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ สิ่งที่เราต้องหาข้อมูลมากจากไก่สาวที่เราซื้อมานั้น และวิธีปฏิบัติเมื่อไก่สาวมาถึง ขอรวมไปด้วยดังนี้ค่ะ
1. เราต้องทราบที่มาของเล้าเลี้ยง พื้นที่ และเลี้ยงแบบไหน ปล่อยพื้น หรือบนกรง เพื่อที่ทราบข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของตัวไก่
.
2. ถามโปรแกรมวัคซีนจากคนขายค่ะ ว่าไก่ชุดที่เราซื้อนั้น ผ่านการทำวัคซีนอะไรมาแล้วบ้าง เพื่อที่เราจะได้วางโปรแกรมการทำวัคซีนในรอบต่อๆไปได้ค่ะ
.
3. ดูน้ำหนักเฉลี่ยของตัวไก่ หากเขามีการเก็บข้อมูลเป็นสัปดาห์ ขอเขาดูเลยค่ะ และเราลองนำมาสุ่มชั่งเองด้วยอีกครั้ง ในวันที่ไก่มาถึง แนะนำให้ชั่งทีละ 10 ตัว แล้วหารเฉลี่ยค่ะ แต่ถ้าไก่มีจำนวนเยอะ สุุ่มก็ได้นะค่ะ
.
4. เราควรแยกเลี้ยงไก่ตัวเล็ก กับไก่ตัวใหญ่ออกจากกันค่ะ ไก่ตัวเล็กในที่นี้คือ กลุ่มที่น้ำหนักต่างจากฝูง ถ้าอายุ 16 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยควรอยู่ที่ 1.40 ก.ก. แต่น้ำหนักไก่ได้เพียง 1.1-1.2 ก.ก. เท่านั้น ถ้าเรานำมารวมฝูงก็จะทำให้โตไม่ทันเพื่อนค่ะ (ถ้าเจอน้ำหนักน้อยเยอะ เคลมคืนเจ้าของเลยนะค่ะ แปลว่าเขาเลี้ยงไม่ได้น้ำหนัก หรืออาจอายุยังไม่ถึงค่ะ)
.
5. ไก่สาวมาถึงฟาร์ม หรือโรงเรือนเลี้ยงเราใหม่ๆแนะนำให้หายากลุ่มพวกอิเล็กโตรไลต์เตรียมไว้ให้เขากินด้วยค่ะ เพื่อลดความเครียดจากการเคลื่อนย้ายค่ะ
.
6. สังเกตหน้าตาไก่โดยรวมค่ะ หงอนยังไม่แดงจัดไม่แปลก เพราะอายุยังไม่ถึง หน้าไม่แดงจัด ไม่แปลก แต่ถ้าผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วยังไม่แดงจัด แปลกแล้วนะค่ะ ไก่อายุ 18 สัปดาห์คือช่วงอายุที่พร้อมให้ไข่ ออกผลผลิตให้กับเราแล้ว ดังนั้น ต้องแดงจัดแล้วค่ะ
.
7. สังเกตทั่วๆไปรอบตัวไก่ค่ะ มีแผลที่หน้า ที่หงอนหรือไม่ ขนฟูหยองหรือไม่ หน้าบวมหรือไม่ เท้าเจ็บหรือไม่ ขนหลุดเยอะหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ คือ สัญญาณอันตราย แปลว่าไก่สุขภาพไม่ดีค่ะ
.
.
ประมาณนี้ก่อนนะค่ะ ข้อสังเกต และข้อปฏิบัติสำหรับคนที่ซื้อไก่สาวมาเลี้ยงค่ะ บทความนี้สามารถประยุกต์ใช้กับสัตว์ปีกทั่วไปนะค่ะ ต่างกันที่อายุเท่านั้นค่ะ
.
ไว้หมอนิ้งจะมาเล่าประสบการณ์และบอกความรู้ดีๆ มีประโยชน์ให้กับพี่ๆน้องๆ เกษตรอีกในครั้งถัดไปนะค่ะ
.
ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามได้นะค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้หมอนิ้งค่ะ
ติดตามหมอนิ้งแบบใกล้ชิด ทุกโพสต์ความรู้ได้ที่เพจ และเฟสบุ้คของหมอนิ้งเอง
https://www.facebook.com/naiying48
https://www.facebook.com/allpoultryma...

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะค่ะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะค่ะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะค่ะ)

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วัสดุปูรอง สำหรับเล้าเลี้ยงไก่ แบบปล่อยพื้น by หมอนิ้ง เซียนไก่ไข่ แบ่งปันความรู้สัตว์ปีก


วัสดุปูรอง สำหรับเล้าไก่ เป็นสิ่งสำคัญที่อยู่ภายในเล้าไก่ เพราะเป็นพื้นที่ให้ไก่เหยียบ นอน ขี้ และไก่ใช้ชีวิตส่วนหนึ่งยืน และนอนอยู่บนวัสดุปูรองนั้น
.
เพราะฉะนั้น เราจำเป็นที่จะต้องใส่ใจ และเลือกวัสดุปูรอง ให้ดีและเหมาะสมกับเล้าไก่ที่สุด
.
เลือกวัสดุปูรองอย่างไร ให้เหมาะกับการเลี้ยงไก่
1. ดูดซับความชื้นได้ดี
ลักษณะของพื้นโรงเรือนที่เหมาะแก่การเลี้ยงไก่คือ ต้องแห้ง และดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆได้ดี
>>
2. ขนาดของวัสดุปูรองที่เหมาะสม และน้ำหนักเบา นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ไก่ยังได้แสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติ คือ การซุกไซ้ไปยังสิ่งปูรอง เพื่อทำความสะอาดร่างกาย และลดความเครียดได้อีกด้วย
>>
3. การเลือกวัสดุที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และทำให้ต้นทุนในการจัดหาถูกลงด้วย
>>
4. ปลอดภัย ไม่เป็นเชื้อรา
วัสดุบางประเภทมีความไวในการเกิดเชื้อราได้ง่าย เช่น ฟางข้าว ขี้เลื่อย ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา
>>
5. เป็นที่ต้องการของผู้รับซื้อต่อ
เมื่อสิ้นสุดรอบการเลี้ยง สิ่งที่ทุกฟาร์มต้องทำคือ การนำวัสดุปูรองเดิมออกจากพื้นโรงเรือนเพื่อเตรียมทำความสะอาด ดังนั้นต้องเลือกวัสดุปูรองที่จำหน่ายได้ง่าย เพื่อประหยัดเวลา และง่ายต่อการจัดการ
.

อย่างที่ได้บอกไปนะค่ะ ว่าวัสดุปูรองนั้นสำคัญ บางคนอาจใช้เป็นแกลบ , ฟางข้าว หรืออาจเป็นพื้นยกสูง แล้วให้ไก่ขี้ลงข้างล่าง

>> ทำไมถึงต้องเลือกวัสดุที่ดูดซับความชื้นได้ดี เพราะความชื้นนี่ละค่ะ ที่เป็นปัญหาใหญ่ ในการเลี้ยงไก่ ความชื้นมีส่วนทำให้ไก่ป่วยได้ง่าย และโรคมักจะมาพร้อมกับความชื้นนี้เอง เหมือนเวลาเราไม่สบาย คุณหมอจะแนะนำว่า ให้เอาผ้าปูที่นอน ปอกหมอน พัดลม ออกมาทำความสะอาด เพื่อกำจัดฝุ่น และไล่ความชื้นออกจากที่นอนเรานั่นเอง เช่นเดียวกันกับเล้าไก่ หากมีความชื้นสูง ไก่ย่อมได้รับเชื้อโรคได้ง่ายค่ะ

>> อีกส่วนที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงต้องคิดก่อนเลือกมาใช้ คือ ต้องเลือกวัสดุปูรอง และคอยเปลี่ยนให้ไม่เกิดปัญหาเชื้อรา เพราะเชื้อราทำให้ไก่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และกดภูมิคุ้มกัน ดังนั้นควรเลือกวัสดุปูรองจากแหล่งที่เชื่อถือได้ สดใหม่ และไม่เป็นเชื้อรา
.

กดไลค กดแชร์ กดติดตามได้นะค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้หมอนิ้งค่ะ
ติดตามหมอนิ้งแบบใกล้ชิด ทุกโพสต์ความรู้ได้ที่เพจ และเฟสบุ้คของหมอนิ้งเอง
https://www.facebook.com/naiying48
https://www.facebook.com/allpoultryma...

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะค่ะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะค่ะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะค่ะ)
.
แล้วหมอนิ้งจะส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ถึงพี่ๆน้องๆ เกษตรทุกท่านค่ะ ^^

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ยาและวิตามินที่จำเป็นสำหรับไก่ไข่

มีเคล็ดลับดีๆ เรื่องยาที่ให้ไก่ไข่ มาฝากกันคะ ไม่ว่าคุณจะเลี้ยงไก่ไข่แบบเล้าเปิด หรือว่าเล้าปิด หรือจะกำลังสนใจที่จะเริ่มเลี้ยงไก่ไข่ ฟังทางนี้เลยนะคะ วันนี้หมอนิ้งมีเรื่องราวจากประสบการณ์การทำงานฟาร์ม มานำเสนอให้รับทราบกันค่ะ
.

ยา / วิตามิน ที่จำเป็นสำหรับไก่ไข่ นั้นเริ่มจาก เราต้องจำแนกตามชนิดยาก่อนนะคะ คือ มีเป็นรูปแบบผงที่ผสมอาหาร หรือละลายน้ำได้ และรูปแบบน้ำ สำหรับละลายน้ำได้เลยค่ะ
.
ที่นี้เราก็มาดูว่ายา/วิตามิน แบ่งยังไง ให้ดูง่ายๆ
>>

1. ยารักษา หรือยาปฏิชีวนะ ให้แยกเป็น 2 ระบบของภายในของตัวไก่ คือ ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร

.

- ระบบทางเดินหายใจ จะใช้ยาช่วงตัดหวัด ใช้เป็นโด๊สป้องกัน และใช้ยาช่วงรักษา คือไก่มีอาการป่วยแล้ว ตัวยาเลือกใช้ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น Amoxy Doxy ปริมาณการใช้ขึ้นกับความเข้มข้นของตัวยา สมัยปัจจุบันมีอีกหนึ่งทางเลือก คือ ยาสมุนไพร ที่สกัดมาจากสมุนไพรจากทั้งในประเทศ เช่น ฟ้าทะลายโจร ไพล หรือจะเป็นสมุนไพรจากต่างประเทศ เช่น มิ้นต์
.

- ระบบทางเดินอาหาร จะเน้นแก้ท้องเสีย แต่ปัจจุบันมียาบางตัวที่ใช้ได้ผล แต่ถูกยกเลิกไป เช่น Colistin Enrofloxazin แต่ยังมีกลุ่มอื่นๆที่ใช้ได้ เช่น Tilmicosin หรือจะเป็นกลุ่มของสมุนไพรก็มีเช่นกัน ยาที่ใช้กับระบบทางเดินอาหารนั้น ก็จะใช้ลักษณะเดียวกันกับระบบทางเดินหายใจ คือแบ่งเป็นโด๊สป้องกัน และโด๊สรักษา ซึ่งจะเน้นเคลมเชื้อ Bacteria และ Microplasma (MG)
.



2. วิตามินบำรุง

- บำรุงตับ
ขาดไม่ได้ และจำเป็นมาก เพราะตับเป็นอวัยวะสำคัญที่เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็น เปรียบเสมือนเป็นโกดังเก็บของ โรงงานผลิต เปลี่ยนอาหารที่กินให้เป็นพลังงาน ที่สำคัญจะส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ หรือการสร้างไข่
.

 ยาบำรุงตับ จะมีแบบป้องกัน และแบบฟื้นฟู หลังจากที่ไก่กินยาปฏิชีวนะในปริมาณมาก อาจทำให้ตับถูกทำลาย และทำงานหนัก หรือไก่ที่ป่วย ตับเสียหาย จึงต้องให้ยาในปริมาณโด๊สรักษา
.

- วิตามินรวมกรดอะมิโน
ที่ต้องเลือกใช้ตัวที่มีกรดอะมิโนรวม เพราะกรดอะมิโน ไก่สามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย
.

- แคลเซียม มีทั้งที่เป็น Ca+P (ฟอสฟอรัส), Ca+Mg (แมกนีเซียม), Ca+D3 (วิตามิน ดี3) ช่วยในเรื่องเสริมความแข็งแรงของกระดูก ของตัวแม่ไก่ และที่สำคัญช่วยไปเสริมการสร้างไข่ เพราะแม่ไก่ต้องดึงแคลเซียมจากตัวเองไปสร้างไข่ ดังนั้นจึงต้องได้รับเสริมเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้น ผลผลิตที่ออกมาจะแสดงถึงภาวะการขาดแคลเซียม หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
.

- ตัวยาเสริมชนิดอื่นๆ ปัจจุบันที่มาแรง เช่น จุลินทรีย์ ช่วยในเรื่องทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยเสริม villi ในลำไส้ให้ยาวขึ้น เพิ่มพื้นที่ในดูดซึมอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น และอีกตัวที่มาแรงเช่นกัน คือ กรดละลายน้ำ ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และมีผลทำให้ท่อน้ำไม่ตันอีกด้วย
.

สำหรับวันนี้ ขอนำเสนอข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ ไว้หมอนิ้ง มีเคล็ดลับดีๆเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ จะมาเล่าให้พี่ๆน้องๆฟังอีกนะคะ
อย่าลืมติดตามความรู้ดีๆ ได้ที่ Facebook fanpage : https://www.facebook.com/naiying48
.

และฝากกด Subscribe ที่ You tube :https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA?view_as=subscriber

ขอบคุณหลายๆเด้อ ^^

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561


วันนี้ขอเอาใจคอเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่ หรือผู้ที่สนใจกำลังคิดจะเลี้ยงไก่ไข่กันคะ
.
กับหัวข้อที่ว่า "เลีี้ยงไก่ไข่ ยังไง ให้คุ้มทุน เหลือกำไร"
ก่อนอื่นเราต้องทันเหตุการณ์ สถานการณ์ปัจจุบันก่อน
ปัจจุบันประเทศไทย คนไทยมีการบริโภคไข่ไก่ เฉลี่ย 260 ฟอง/ปี
>>
แต่ราคาขายหน้าฟาร์มเหลือเพียงแค่ 2 บาทกว่า/ฟอง ดังนั้นผลกระทบที่จะได้รับเต็มๆ นั่นก็คือ ผู้ผลิต เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่นั่นเอง !

.
แล้วเราจะมีวิธีรับมือกับการหลีกเลี่ยงภาวะเศรษกิจแบบนี้ได้อย่างไร ?
>>
อันดับแรก เราต้องรู้สิ่งที่เป็นต้นทุนของการเลี้ยงไก่ไข่ก่อนคะ
1. วัตถุดิบอาหาร คิดเป็น 70% ของต้นทุนการเลี้ยง
หากเราต้องการประหยัดต้นทุน ถ้าเลี้ยงจำนวนไม่เยอะ ให้ซื้อหัวอาหารแล้วนำมาผสมเอง ไก่ไข่เป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงแบบอินทรีย์ได้ ผสมหยวกกล้วย ผักต่างๆ ที่ปลูกเองให้กินเสริม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้มาก

.
แต่ถ้าเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม คือเลี้ยงเยอะขึ้นเกินกว่าจะมาหาของจากธรรมชาติได้ ก็ให้เลือกซื้ออาหารสำเร็จจากแหล่งบริษัททีได้มาตรฐาน ราคาพอยอมรับได้
>>
2. น้ำ คิดเป็น 5% ของต้นทุน ให้เลือกแหล่งน้ำจากธรรมชาติ แล้วบำบัด ฆ่าเชื้อให้น้ำสะอาด ไม่ต้องลงทุนมาก ด้วยการใช้น้ำประปา ใช้น้ำบนดิน น้ำบ่อ ที่ไหลมาจากแม่น้ำ หรือห้วย ลำคลอง มีแค่โอ่ง หรือแทงก์ใส่น้ำ ไว้สำหรับพักน้ำ เพียงพอต่อการเตรียมน้ำไว้ให้ไก่กินเพียงพอหลายๆเดือน

.
เราจะเสียแค่ค่าน้ำยาตกตะกอน และคลอรีนเท่านั้น
>>
3. ยา วิตามิน เสริมบำรุง คิดเป็น 10% ของต้นทุนการเลี้ยง ให้เราเน้นที่การป้องกันมากกว่าการรักษา เพียงแค่เราคอยสังเกตความผิดปกติของไก่ เลี้ยงลูกยังไง ให้เลี้ยงไก่อย่างนั้น ใส่ใจ หากเขามีอาหาร น้ำ เพียงพอ ไม่เครียดต่อสิ่งเร้ารอบข้าง เราแทบไม่ต้องใช้ยาเลย
.
แต่ถ้าเราจำเป็นต้องใช้ ก็ให้เลือกใช้เท่าที่จำเป็น กับโรคที่สำคัญๆ และเสริมวิตามินในช่วงอากาศเปลี่ยน และไก่เกิดอาการตกใจ ไม่ใช้ยามากเกินไป จนกลายเป็นงบสิ้นเปลือง
>>

4. ค่าเสื่อมโรงเรือน อุปกรณ์การเลี้ยง และค่าจ้าง ค่าเสียเวลา ทุกอย่างเป็นต้นทุนทั้งหมด เราต้องมีบัญชี สมุดบันทึกในการจดรายการ รายจ่ายตั้งแต่เริ่มเลี้ยง และในทุกวันที่เราใช้จ่ายไป จะทำให้เรารู้ถึงรายจ่ายทั้งหมด ทำให้เรามาคิดต้นทุนได้

.
หากเราเลี้ยงแบบมีแบบแผน จะทำให้เราได้ผลผลิตที่ดี ได้ไข่สวย จำนวนเยอะ ไก่สามารถยืนพีคได้นาน
สรุปท้ายนี้ หากเราจะมีกำไรได้นั้น เราต้องขายไข่ของเราให้ได้มากที่สุดด้วย ดังนั้น เรื่องการตลาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
>
ถ้าเลี้ยงน้อย แนะนำส่งเอง แถวบ้าน จะทำให้ประหยัดค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทางได้
แต่ถ้าเลี้ยงจำนวนมาก ก็ต้องหาตลาดรองรับไว้ก่อนนะคะ เพราะไก่ออกไข่ทุกวัน ถ้าล้นขายไม่ได้ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกแน่นอน
.
.
ขอเป็นกำลังใจให้กับชาวเกษตรกร เลี้ยงไก่ไข่ทุกท่าน
ฝากติดตาม และเป็นกำลังใจให้หมอนิ้งด้วยนะคะ ^^
ติดตามบทความดีๆ จากหมอนิ้งได้ที่เฟสบุ้คได้เลยนะค่ะ
https://www.facebook.com/naiying48

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะค่ะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะค่ะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะค่ะ)
.
แล้วหมอนิ้งจะส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ถึงพี่ๆน้องๆ เกษตรทุกท่านค่ะ ^^