วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ยาและวิตามินที่จำเป็นสำหรับไก่ไข่

มีเคล็ดลับดีๆ เรื่องยาที่ให้ไก่ไข่ มาฝากกันคะ ไม่ว่าคุณจะเลี้ยงไก่ไข่แบบเล้าเปิด หรือว่าเล้าปิด หรือจะกำลังสนใจที่จะเริ่มเลี้ยงไก่ไข่ ฟังทางนี้เลยนะคะ วันนี้หมอนิ้งมีเรื่องราวจากประสบการณ์การทำงานฟาร์ม มานำเสนอให้รับทราบกันค่ะ
.

ยา / วิตามิน ที่จำเป็นสำหรับไก่ไข่ นั้นเริ่มจาก เราต้องจำแนกตามชนิดยาก่อนนะคะ คือ มีเป็นรูปแบบผงที่ผสมอาหาร หรือละลายน้ำได้ และรูปแบบน้ำ สำหรับละลายน้ำได้เลยค่ะ
.
ที่นี้เราก็มาดูว่ายา/วิตามิน แบ่งยังไง ให้ดูง่ายๆ
>>

1. ยารักษา หรือยาปฏิชีวนะ ให้แยกเป็น 2 ระบบของภายในของตัวไก่ คือ ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร

.

- ระบบทางเดินหายใจ จะใช้ยาช่วงตัดหวัด ใช้เป็นโด๊สป้องกัน และใช้ยาช่วงรักษา คือไก่มีอาการป่วยแล้ว ตัวยาเลือกใช้ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น Amoxy Doxy ปริมาณการใช้ขึ้นกับความเข้มข้นของตัวยา สมัยปัจจุบันมีอีกหนึ่งทางเลือก คือ ยาสมุนไพร ที่สกัดมาจากสมุนไพรจากทั้งในประเทศ เช่น ฟ้าทะลายโจร ไพล หรือจะเป็นสมุนไพรจากต่างประเทศ เช่น มิ้นต์
.

- ระบบทางเดินอาหาร จะเน้นแก้ท้องเสีย แต่ปัจจุบันมียาบางตัวที่ใช้ได้ผล แต่ถูกยกเลิกไป เช่น Colistin Enrofloxazin แต่ยังมีกลุ่มอื่นๆที่ใช้ได้ เช่น Tilmicosin หรือจะเป็นกลุ่มของสมุนไพรก็มีเช่นกัน ยาที่ใช้กับระบบทางเดินอาหารนั้น ก็จะใช้ลักษณะเดียวกันกับระบบทางเดินหายใจ คือแบ่งเป็นโด๊สป้องกัน และโด๊สรักษา ซึ่งจะเน้นเคลมเชื้อ Bacteria และ Microplasma (MG)
.



2. วิตามินบำรุง

- บำรุงตับ
ขาดไม่ได้ และจำเป็นมาก เพราะตับเป็นอวัยวะสำคัญที่เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็น เปรียบเสมือนเป็นโกดังเก็บของ โรงงานผลิต เปลี่ยนอาหารที่กินให้เป็นพลังงาน ที่สำคัญจะส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ หรือการสร้างไข่
.

 ยาบำรุงตับ จะมีแบบป้องกัน และแบบฟื้นฟู หลังจากที่ไก่กินยาปฏิชีวนะในปริมาณมาก อาจทำให้ตับถูกทำลาย และทำงานหนัก หรือไก่ที่ป่วย ตับเสียหาย จึงต้องให้ยาในปริมาณโด๊สรักษา
.

- วิตามินรวมกรดอะมิโน
ที่ต้องเลือกใช้ตัวที่มีกรดอะมิโนรวม เพราะกรดอะมิโน ไก่สามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย
.

- แคลเซียม มีทั้งที่เป็น Ca+P (ฟอสฟอรัส), Ca+Mg (แมกนีเซียม), Ca+D3 (วิตามิน ดี3) ช่วยในเรื่องเสริมความแข็งแรงของกระดูก ของตัวแม่ไก่ และที่สำคัญช่วยไปเสริมการสร้างไข่ เพราะแม่ไก่ต้องดึงแคลเซียมจากตัวเองไปสร้างไข่ ดังนั้นจึงต้องได้รับเสริมเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้น ผลผลิตที่ออกมาจะแสดงถึงภาวะการขาดแคลเซียม หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
.

- ตัวยาเสริมชนิดอื่นๆ ปัจจุบันที่มาแรง เช่น จุลินทรีย์ ช่วยในเรื่องทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยเสริม villi ในลำไส้ให้ยาวขึ้น เพิ่มพื้นที่ในดูดซึมอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น และอีกตัวที่มาแรงเช่นกัน คือ กรดละลายน้ำ ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และมีผลทำให้ท่อน้ำไม่ตันอีกด้วย
.

สำหรับวันนี้ ขอนำเสนอข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ ไว้หมอนิ้ง มีเคล็ดลับดีๆเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ จะมาเล่าให้พี่ๆน้องๆฟังอีกนะคะ
อย่าลืมติดตามความรู้ดีๆ ได้ที่ Facebook fanpage : https://www.facebook.com/naiying48
.

และฝากกด Subscribe ที่ You tube :https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA?view_as=subscriber

ขอบคุณหลายๆเด้อ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น