วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ยาและวิตามินที่จำเป็นสำหรับไก่ไข่

มีเคล็ดลับดีๆ เรื่องยาที่ให้ไก่ไข่ มาฝากกันคะ ไม่ว่าคุณจะเลี้ยงไก่ไข่แบบเล้าเปิด หรือว่าเล้าปิด หรือจะกำลังสนใจที่จะเริ่มเลี้ยงไก่ไข่ ฟังทางนี้เลยนะคะ วันนี้หมอนิ้งมีเรื่องราวจากประสบการณ์การทำงานฟาร์ม มานำเสนอให้รับทราบกันค่ะ
.

ยา / วิตามิน ที่จำเป็นสำหรับไก่ไข่ นั้นเริ่มจาก เราต้องจำแนกตามชนิดยาก่อนนะคะ คือ มีเป็นรูปแบบผงที่ผสมอาหาร หรือละลายน้ำได้ และรูปแบบน้ำ สำหรับละลายน้ำได้เลยค่ะ
.
ที่นี้เราก็มาดูว่ายา/วิตามิน แบ่งยังไง ให้ดูง่ายๆ
>>

1. ยารักษา หรือยาปฏิชีวนะ ให้แยกเป็น 2 ระบบของภายในของตัวไก่ คือ ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร

.

- ระบบทางเดินหายใจ จะใช้ยาช่วงตัดหวัด ใช้เป็นโด๊สป้องกัน และใช้ยาช่วงรักษา คือไก่มีอาการป่วยแล้ว ตัวยาเลือกใช้ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น Amoxy Doxy ปริมาณการใช้ขึ้นกับความเข้มข้นของตัวยา สมัยปัจจุบันมีอีกหนึ่งทางเลือก คือ ยาสมุนไพร ที่สกัดมาจากสมุนไพรจากทั้งในประเทศ เช่น ฟ้าทะลายโจร ไพล หรือจะเป็นสมุนไพรจากต่างประเทศ เช่น มิ้นต์
.

- ระบบทางเดินอาหาร จะเน้นแก้ท้องเสีย แต่ปัจจุบันมียาบางตัวที่ใช้ได้ผล แต่ถูกยกเลิกไป เช่น Colistin Enrofloxazin แต่ยังมีกลุ่มอื่นๆที่ใช้ได้ เช่น Tilmicosin หรือจะเป็นกลุ่มของสมุนไพรก็มีเช่นกัน ยาที่ใช้กับระบบทางเดินอาหารนั้น ก็จะใช้ลักษณะเดียวกันกับระบบทางเดินหายใจ คือแบ่งเป็นโด๊สป้องกัน และโด๊สรักษา ซึ่งจะเน้นเคลมเชื้อ Bacteria และ Microplasma (MG)
.



2. วิตามินบำรุง

- บำรุงตับ
ขาดไม่ได้ และจำเป็นมาก เพราะตับเป็นอวัยวะสำคัญที่เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็น เปรียบเสมือนเป็นโกดังเก็บของ โรงงานผลิต เปลี่ยนอาหารที่กินให้เป็นพลังงาน ที่สำคัญจะส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ หรือการสร้างไข่
.

 ยาบำรุงตับ จะมีแบบป้องกัน และแบบฟื้นฟู หลังจากที่ไก่กินยาปฏิชีวนะในปริมาณมาก อาจทำให้ตับถูกทำลาย และทำงานหนัก หรือไก่ที่ป่วย ตับเสียหาย จึงต้องให้ยาในปริมาณโด๊สรักษา
.

- วิตามินรวมกรดอะมิโน
ที่ต้องเลือกใช้ตัวที่มีกรดอะมิโนรวม เพราะกรดอะมิโน ไก่สามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย
.

- แคลเซียม มีทั้งที่เป็น Ca+P (ฟอสฟอรัส), Ca+Mg (แมกนีเซียม), Ca+D3 (วิตามิน ดี3) ช่วยในเรื่องเสริมความแข็งแรงของกระดูก ของตัวแม่ไก่ และที่สำคัญช่วยไปเสริมการสร้างไข่ เพราะแม่ไก่ต้องดึงแคลเซียมจากตัวเองไปสร้างไข่ ดังนั้นจึงต้องได้รับเสริมเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้น ผลผลิตที่ออกมาจะแสดงถึงภาวะการขาดแคลเซียม หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
.

- ตัวยาเสริมชนิดอื่นๆ ปัจจุบันที่มาแรง เช่น จุลินทรีย์ ช่วยในเรื่องทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยเสริม villi ในลำไส้ให้ยาวขึ้น เพิ่มพื้นที่ในดูดซึมอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น และอีกตัวที่มาแรงเช่นกัน คือ กรดละลายน้ำ ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และมีผลทำให้ท่อน้ำไม่ตันอีกด้วย
.

สำหรับวันนี้ ขอนำเสนอข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ ไว้หมอนิ้ง มีเคล็ดลับดีๆเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ จะมาเล่าให้พี่ๆน้องๆฟังอีกนะคะ
อย่าลืมติดตามความรู้ดีๆ ได้ที่ Facebook fanpage : https://www.facebook.com/naiying48
.

และฝากกด Subscribe ที่ You tube :https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA?view_as=subscriber

ขอบคุณหลายๆเด้อ ^^

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561


วันนี้ขอเอาใจคอเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่ หรือผู้ที่สนใจกำลังคิดจะเลี้ยงไก่ไข่กันคะ
.
กับหัวข้อที่ว่า "เลีี้ยงไก่ไข่ ยังไง ให้คุ้มทุน เหลือกำไร"
ก่อนอื่นเราต้องทันเหตุการณ์ สถานการณ์ปัจจุบันก่อน
ปัจจุบันประเทศไทย คนไทยมีการบริโภคไข่ไก่ เฉลี่ย 260 ฟอง/ปี
>>
แต่ราคาขายหน้าฟาร์มเหลือเพียงแค่ 2 บาทกว่า/ฟอง ดังนั้นผลกระทบที่จะได้รับเต็มๆ นั่นก็คือ ผู้ผลิต เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่นั่นเอง !

.
แล้วเราจะมีวิธีรับมือกับการหลีกเลี่ยงภาวะเศรษกิจแบบนี้ได้อย่างไร ?
>>
อันดับแรก เราต้องรู้สิ่งที่เป็นต้นทุนของการเลี้ยงไก่ไข่ก่อนคะ
1. วัตถุดิบอาหาร คิดเป็น 70% ของต้นทุนการเลี้ยง
หากเราต้องการประหยัดต้นทุน ถ้าเลี้ยงจำนวนไม่เยอะ ให้ซื้อหัวอาหารแล้วนำมาผสมเอง ไก่ไข่เป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงแบบอินทรีย์ได้ ผสมหยวกกล้วย ผักต่างๆ ที่ปลูกเองให้กินเสริม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้มาก

.
แต่ถ้าเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม คือเลี้ยงเยอะขึ้นเกินกว่าจะมาหาของจากธรรมชาติได้ ก็ให้เลือกซื้ออาหารสำเร็จจากแหล่งบริษัททีได้มาตรฐาน ราคาพอยอมรับได้
>>
2. น้ำ คิดเป็น 5% ของต้นทุน ให้เลือกแหล่งน้ำจากธรรมชาติ แล้วบำบัด ฆ่าเชื้อให้น้ำสะอาด ไม่ต้องลงทุนมาก ด้วยการใช้น้ำประปา ใช้น้ำบนดิน น้ำบ่อ ที่ไหลมาจากแม่น้ำ หรือห้วย ลำคลอง มีแค่โอ่ง หรือแทงก์ใส่น้ำ ไว้สำหรับพักน้ำ เพียงพอต่อการเตรียมน้ำไว้ให้ไก่กินเพียงพอหลายๆเดือน

.
เราจะเสียแค่ค่าน้ำยาตกตะกอน และคลอรีนเท่านั้น
>>
3. ยา วิตามิน เสริมบำรุง คิดเป็น 10% ของต้นทุนการเลี้ยง ให้เราเน้นที่การป้องกันมากกว่าการรักษา เพียงแค่เราคอยสังเกตความผิดปกติของไก่ เลี้ยงลูกยังไง ให้เลี้ยงไก่อย่างนั้น ใส่ใจ หากเขามีอาหาร น้ำ เพียงพอ ไม่เครียดต่อสิ่งเร้ารอบข้าง เราแทบไม่ต้องใช้ยาเลย
.
แต่ถ้าเราจำเป็นต้องใช้ ก็ให้เลือกใช้เท่าที่จำเป็น กับโรคที่สำคัญๆ และเสริมวิตามินในช่วงอากาศเปลี่ยน และไก่เกิดอาการตกใจ ไม่ใช้ยามากเกินไป จนกลายเป็นงบสิ้นเปลือง
>>

4. ค่าเสื่อมโรงเรือน อุปกรณ์การเลี้ยง และค่าจ้าง ค่าเสียเวลา ทุกอย่างเป็นต้นทุนทั้งหมด เราต้องมีบัญชี สมุดบันทึกในการจดรายการ รายจ่ายตั้งแต่เริ่มเลี้ยง และในทุกวันที่เราใช้จ่ายไป จะทำให้เรารู้ถึงรายจ่ายทั้งหมด ทำให้เรามาคิดต้นทุนได้

.
หากเราเลี้ยงแบบมีแบบแผน จะทำให้เราได้ผลผลิตที่ดี ได้ไข่สวย จำนวนเยอะ ไก่สามารถยืนพีคได้นาน
สรุปท้ายนี้ หากเราจะมีกำไรได้นั้น เราต้องขายไข่ของเราให้ได้มากที่สุดด้วย ดังนั้น เรื่องการตลาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
>
ถ้าเลี้ยงน้อย แนะนำส่งเอง แถวบ้าน จะทำให้ประหยัดค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทางได้
แต่ถ้าเลี้ยงจำนวนมาก ก็ต้องหาตลาดรองรับไว้ก่อนนะคะ เพราะไก่ออกไข่ทุกวัน ถ้าล้นขายไม่ได้ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกแน่นอน
.
.
ขอเป็นกำลังใจให้กับชาวเกษตรกร เลี้ยงไก่ไข่ทุกท่าน
ฝากติดตาม และเป็นกำลังใจให้หมอนิ้งด้วยนะคะ ^^
ติดตามบทความดีๆ จากหมอนิ้งได้ที่เฟสบุ้คได้เลยนะค่ะ
https://www.facebook.com/naiying48

ฝากกดติดตามช่องยูทูปด้วยนะค่ะ กดติดตาม Subscribe และกดกระดิ่งด้วยนะค่ะ ตามลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.youtube.com/channel/UCoqlW507Cr_f63Ln4G8KBkA
.
และอีกช่องทาง ไลน์@
@jis2292v (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะค่ะ)
.
แล้วหมอนิ้งจะส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ถึงพี่ๆน้องๆ เกษตรทุกท่านค่ะ ^^